๑๐/๐๙/๒๕๕๐

มาตรการรักษาความปลอดภัย

บริษัท เจนเนอรัล แคร์ พร็อพเพอร์ตี้ เซอร์วิส เซส จำกัด
มาตรการรักษาความปลอดภัย ระบบอาคารชุด / และห้องพักอาศัย


1. มาตราการเกี่ยวกับบุคคล


1.1 คนงานรับเหมา

- กำหนดให้มีเวลาเข้าทำงานและเลิกงาน
- กำหนดเวลาการทำงานล่วงเวลา มิให้เกินเวลาใด , ทำงานที่จุดใด , ห้องใด, บ้านหลัง

- ผู้รับเหมาภายนอก ที่ลูกบ้านนำมาทำงานในพื้นที่ จะต้องมีใบอนุญาตให้เข้าทำงานจากฝ่ายผู้ว่าจ้างพร้อมส่งรายชื่อและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคนงานในสังกัดของตนให้ รปภ.รับทราบด้วย และหากคนงานลูกจ้างคนใดพ้นสภาพการเป็นลูกจ้างแล้ว ให้รีบมีหนังสือแจ้ง รปภ.ทราบทันที
- คนงาน , กรรมกรที่ทำงานในโครงการ และที่ต้องพักอาศัยอยู่ในโครงการ จะต้องพักอาศัยอยู่ในเฉพาะพื้นที่เท่านั้น
- ช่างจากภายนอกที่ลูกบ้านนำเข้ามาตกแต่ง – ต่อเติม จะต้องแจ้งเวลาที่เข้าทำงานและบ้านเลขที่ที่เข้ามาทำงานให้โครงการทราบทุกครั้ง เพื่อโครงการจะได้แจ้งให้พนักงานรักษาความปลอดภัยตรวจตราสังเกตและควบคุมได้
- ลูกบ้านหลังใดที่ยินยอมให้ช่างภายนอกเข้ามาทำงาน พักอาศัยในบ้านของตนจะต้องรับผิดชอบในการสูญหายเสียหายที่เกิดขึ้นเองทุกประการ
- คนงาน , กรรมกรที่มิได้อยู่ในช่วงเวลาทำงาน ห้ามเดินเพ่นพ่านในโครงการอย่างเด็ดขาด เว้นแต่ที่มีธุระที่จะต้องออกนอกโครงการ ซึ่งจะต้องใช้เส้นทางผ่านเข้า – ออกตามที่กำหนดไว้เท่านั้น หากพนักงาน รปภ. พบบุคคลใด อยู่นอกไปจากเส้นทางที่กำหนดถือว่ามีเหตุสงสัยว่ามีเจตนาร้าย และอาจถูกตรวจค้น ควบคุมตัวไว้เพื่อทำการสอบสวน
- ในการผ่านเข้า – ออกโครงการ ห้ามบุคคลใดก็ตามใช้เส้นทางอื่นที่มิใช่เส้นทางปกติที่โครงการกำหนด
- ห้ามปีน , แหวก , มุด , ตัดรั้ว , หรือกำแพงที่โครงการได้จัดสร้างขึ้นรอบๆโครงการ


1.2 เจ้าของโครงการ , ลูกบ้าน , หรือบริวาร ( ที่ติดสติ๊กเกอร์หน้ารถ )

- อนุญาตให้เข้าโครงการโดยดูแลอำนวยความสะดวกในด้านการจราจร แต่ รปภ.ต้องสอบถาม . หรือตรวจค้นถ้ามีเหตุสงสัยใดๆ


1.3 ผู้มาติดต่อทั่วไป

- ต้องแลกบัตร หรือตรวจค้นท้ายรถทุกคันและทุกครั้งเมื่อออกจากโครงการ


1.4 บุคคลที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐฯ และรัฐวิสาหกิจที่แต่งเครื่องแบบ

- หากต้องเป็นการเข้าปฏิบัติหน้าที่ จะอนุญาตให้เข้าโดยไม่ต้องแลกบัตร แต่อาจตรวจค้นถ้าหากต้องสงสัย


1.5 บุคคลอันไม่พึงประสงค์
- จะถูกห้ามเข้าโครงการโดยเด็ดขาด เช่น. คนเร่รอน, คนขายของเร่, คนขายล็อตเตอรี่, คนแจกใบปลิว, รถโฆษณาประชาสัมพันธ์ ฯลฯ

2. มาตราการเกี่ยวกับยานพาหนะ


- รถยนต์ , จักรยานยนต์ ของพนักงาน เจ้าหน้าที่ รถใช้งานส่วนกลาง จะต้องแจ้งหมายเลขทะเบียน หรือชื่อเจ้าของให้ รปภ.ทราบไว้ เพื่อช่วยสังเกตพร้อมทั้งติดสติ๊กเกอร์หน้ารถ และอาจถูกตรวจค้นเมื่อ รปภ.เห็นว่าจำเป็น
- รถยนต์ , รถจักรยานยนต์ของผู้รับเหมา , ช่าง , คนงาน , จะต้องแจ้งหมายเลขทะเบียนให้ รปภ.ทราบ และจะต้องยินยอมให้ รปภ.ตรวจค้นรถ หีบห่อทุกครั้งที่ผ่านเข้า – ออก
- รถยนต์ , จักรยานยนต์ของลูกบ้านที่พักอาศัยอยู่ในโครงการ จะต้องมีรายชื่อเจ้าของ หมายเลขทะเบียนรถไว้ที่ รปภ. และจะต้องมีสติ๊กเกอร์ติดที่กระจกรถเสมอ
- รถยนต์ , รถจักรยานยนต์ของบุคคลภายนอกที่ผ่านเข้า – ออกในพื้นที่ จะต้องแลกบัตรผ่านที่พนักงานรักษาความปลอดภัย ที่ป้อมหน้าทุกครั้ง และจะต้องถูกตรวจตรา ตรวจค้นเช่นกัน กรณีที่บัตรผ่านสูญหายบุคคลนั้นๆ จะต้องพิสูจน์หรือแสดงหลักฐานถึงการมีสิทธิในรถคันดังกล่าวให้ได้อย่างปราศจากข้อสงสัยแก่ รปภ.ทุกครั้ง มิฉะนั้น รปภ.จะไม่ยินยอมให้ออกจากโครงการ
- รถซาเล้ง , รถขายกับข้าว หรือรถขายของเร่ จะไม่อนุญาตให้เข้าในโครงการโดยเด็ดขาด


3. มาตราการเกี่ยวกับทรัพย์สิน


- ผู้รับเหมาหรือช่างของผู้รับเหมา จะต้องเก็บดูแลรักษาเครื่องมือ / ทรัพย์สินของตนเอง
- กำหนดตัวบุคคลของฝ่ายที่มีสิทธิอนุมัติให้นำสิ่งของทรัพย์สินใดๆ ออกไปนอกพื้นที่พร้อมทั้งส่งตัวอย่างลายมือชื่อของผู้มีอำนาจอนุมัติให้ รปภ.ทราบด้วย
- การนำทรัพย์สิน / สิ่งของ ออกไปนอกพื้นที่ จะต้องมีแบบฟอร์มแสดงรายการทรัพย์สินจำนวน,ขนาด , ปริมาตร , ปริมาณ , ยี่ห้อ , นำมาจาก , ไปยัง , ชื่อของผู้อนุญาต , สังกัด และกำหนดวัน – เวลา ถ้าไม่ตรงกับที่ระบุไว้ เจ้าหน้าที่ รปภ.จะไม่อนุญาตให้นำของออกจากพื้นที่ ยกเว้นจะต้องทำใบอนุญาตใหม่จากนิติบุคคลฯ หรือผู้มีอำนาจอนุมัติ
- ทรัพย์สินของส่วนกลางที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ จะต้องแจ้งให้พนักงานรักษาความปลอดภัยทราบด้วยว่าวางอยู่ที่ใด , จะย้ายไปไหน , จำนวนเท่าใด , โดยใครเป็นผู้ดำเนินการและใครสั่งการ
- ถนน จุดเสี่ยง จุดล่อแหลม และซอยทุกซอย จะต้องจัดให้มีไฟฟ้าแสงสว่างอย่างเพียงพอ
- การกระทำต่างๆ ต่อทรัพย์สินส่วนกลางภายในพื้นที่ ไม่ว่าเป็นการปรับปรุง , ซ่อมแซม ,ติดตั้ง, ทำลายฯลฯ จะต้องแจ้งให้พนักงานรักษาความปลอดภัยทราบทุกครั้ง
- หากผู้ว่าจ้างต้องการให้ทางบริษัทฯ ดูแลรับผิดชอบทรัพย์สินใดๆเป็นกรณีพิเศษให้แจ้งต่อบริษัทฯ เป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้ง เพื่อจะได้พิจารณาถึงมาตราการในการดูแลรักษาความปลอดภัยได้


4. มาตราการอื่นๆ


- ผู้ว่าจ้างควรทำแผนที่พื้นที่โดยรวมของอาคารสำนักงาน, โรงงาน, บริษ้ท หรือ หมู่บ้าน ที่บริษัทฯรับผิดชอบขนาดพอสมควร ติดตั้งไว้บริเวณป้อมหน้า รปภ. โดยระบุเลขที่และชื่อซอยทุกซอย เพื่อความสะดวกแก่ รปภ.และบุคคลทั่วไป
- ผู้ว่าจ้างควรจัดทำกฎระเบียบข้อบังคับของสถานที่ติดตั้งไว้ป้อมหน้า รปภ. เช่น รถจักรยานยนต์ผู้มาติดต่อต้องถอดหมวกนิรภัยฝากไว้กับ รปภ. ป้อมหน้าก่อนเข้าโครงการทุกครั้ง รถยนต์โดยเฉพาะรถเก๋งของผู้มาติดต่อ และแท็กซี่ จะต้องถูกตรวจท้ายรถทุกคันก่อนเข้า – ออกพื้นที่
- ผู้ว่าจ้างควรจัดทำลูกระนาด ชะลอความเร็วของรถที่ผ่านเขา – ออกเพื่อป้องกันเหตุและสะดวกต่อการตรวจสอบของ รปภ.
- ติดตั้งไฟฟ้าเพื่อแสงสว่างบริเวณถนน ซอยทุกซอยและแนวกำแพงต่างๆ